เผยแพร่ผลงาน การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เรื่อง การสร้างแบบจำลอง DNA โดยใช้รูปแบบการดำเนินการ KHAO Model โดยครูชญานี จุ้ยเปี่ยม

เผยแพร่ผลงาน การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เรื่อง การสร้างแบบจำลอง DNA

โดยใช้รูปแบบการดำเนินการ KHAO Model โดยครูชญานี จุ้ยเปี่ยม

K : Knowledge คือ ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
H : Heartily คือ มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงานอย่างเต็มที่ มีความสนใจ กระตือรือร้น รู้สึกท้าทายและเกิดความมั่นใจในการเรียน
A : Administration คือ การดำเนินงาน จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ การดำเนินกิจกรรมด้วยวงจรการบริหารงานคุณภาพ PDCA
O : Obtain เป็นการที่ผู้เรียนนำผลการเรียนรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยซน์ เผยแพร่ความรู้สู่ครอบครัว ชุมชน และสังคมต่าง ๆ ซึ่งขั้นนี้จะเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝน
การนำความรู้ความเข้าใจของตนไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ

ผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์
1. นักเรียนสืบค้น อธิบายโครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีของ DNA เปรียบเทียบจำนวนนิวคลีโอไทด์และชนิดของเบสจากแบบจำลอง DNA ได้
2. นักเรียนสร้างแบบจำลองโมเลกุลของ DNA ได้
3. นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาแบบจำลอง DNA

ประโยชน์ที่ได้รับ
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เรื่อง การสร้างแบบจำลอง DNA ทำให้ผู้เรียนทำงานเป็นทีม เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดและอภิปรายผลร่วมกัน มีความตั้งใจเรียนและแสดงออกมากขึ้น กล้านำเสนอผลงาน กล้าพูด และความรู้ที่ผู้เรียนได้เป็นความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติจริง ทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดีกว่าการอ่านจากหนังสือหรือการสอนแบบบรรยายดังนั้นการสร้างนวัตกรรมจากการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จะทำให้นักเรียนสนไจ มีความกระตือรือร้น รู้สึกท้าทายและเกิดความมั่นใจในการเรียน สามารถสร้างขึ้นงานได้และประสบความสำเร็จในการเรียน