ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนห้วยกรดวิทยา จัดตั้งเมื่อวันที่ 14  กรกฎาคม  พ.ศ. 2519  ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท รหัสไปรษณีย์ 17140 โทรศัพท์ 056 – 438026 โทรสาร 056-438078 website : https://huaikrot.ac.th อีเมล์ : huaikrot@huaikrot.ac.th สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีเนื้อที่  36 ไร่ 2 งาน 30 ตารางวา มีเขตพื้นที่บริการ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลห้วยกรดและตำบลห้วยกรดพัฒนา

โรงเรียนห้วยกรดวิทยา ได้รับอนุมัติให้เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 14 กรกฏาคม 2519 ในการเปิดสอนครั้งแรก  ได้ขออาศัยศาลาการเปรียญของวัดบำเพ็ญบุญ เป็นที่เรียนชั่วคราว และเมื่อได้ จัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวเสร็จ จึงได้ย้ายมาเปิดสอน ณ โรงเรียนห้วยกรดวิทยาเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2519 โดยเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 (ม.ศ.1)จำนวน 2 ห้องเรียน เป็นโรงเรียนสหศึกษามีนักเรียนจำนวน 80 คน ใช้ชื่อโรงเรียนว่า ” โรงเรียนห้วยกรดวิทยา” อักษรย่อ “หก.ว.” โดยมีนายประกอบ แสงสุวรรณ รักษาการในตำแหน่ง ครูใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ได้รับอนุมัติให้เปิดทำการสอน ในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6

โครงการสำคัญ

                – ปี พ.ศ. 2526 ได้รับการคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษาเข้าโครงการโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท รุ่นที่ 2 (มพชส. 2

                – ปี พ.ศ. 2556 ผ่านการรับรองให้เป็นต้นแบบโรงเรียนในฝัน รุ่นที่ 3

                – ปี พ.ศ. 2556 ผ่านการประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และ การบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง)

                – ปี พ.ศ. 2561 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล 1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ

คำขวัญ

สร้างความดี มีวินัย ใฝ่ศึกษา กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม

คติพจน์

อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย    ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี

สีของโรงเรียน

ฟ้า – ขาว

สีฟ้า หมายถึง ความกว้างไกล
สีขาว หมายถึง ความสว่าง สะอาด สงบ

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

เป็นรูปตาลโตนดคู่อยู่ภายในวงกลม บนพื้นฐานดาวแปดแฉก
ตาลโตนด หมายถึง ความมั่นคง ความรุ่งเรืองความดี และศักดิ์ศรีของโรงเรียน บนพื้นฐานของการปฏิบัติตน ตามมรรคมีองค์แปด
มรรคมีองค์แปด (ศีล สมาธิ ปัญญา) ประกอบด้วย
1. สัมมาทิฏฐิ     คือ ความเห็นชอบ
2. สัมมาสังกัปปะ     คือ ความดำริชอบ
3. สัมมาวาจา     คือ การเจรจาชอบ
4. สัมมากัมมันตะ     คือ การงานชอบ
5. สัมมาอาชีวะ     คือ การเลี้ยงชีพชอบ
6. สัมมาวายามะ     คือ ความพากเพียรชอบ
7. สัมมาสติ     คือ ความระลึกชอบ
8. สัมมาสมาธิ     คือ ความตั้งจิตมั่นชอบ