วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ (Vision)

“ภายในปี 2570 โรงเรียนห้วยกรดวิทยา พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ สมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษา เทียบเคียงมาตรฐานสากลควบคู่คุณธรรมจริยธรรมบนพื้นฐานความเป็นไทย ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”

พันธกิจ – Mission

1. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาเทียบเคียงมาตรฐานสากล ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ดำเนินชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา
3. ส่งเสริมพัฒนาให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีความกล้าแสดงออกตามศักยภาพของตนอย่างสร้างสรรค์
4. พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
5. ส่งเสริมครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
6. พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
7. ประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน วัด และสร้างภาคีเครือข่าย เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา
8. สืบสานศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและใส่ใจสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม

เป้าประสงค์ – Goals

1. ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาเทียบเคียงมาตรฐานสากล มีคุณธรรม จริยธรรม ดำเนินชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ครูนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา มาใช้พัฒนาคุณภาพทางการศึกษา
3. ผู้เรียนมีพฤติกรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีความกล้าแสดงออกตามศักยภาพของตนอย่างสร้างสรรค์
4. สถานศึกษาบริหารจัดการศึกษาโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
5. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ ความสามารถ มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
6. สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
7. โรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน วัด และภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการจัดการศึกษา
8. สถานศึกษาร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและใส่ใจสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม

กลยุทธ์โรงเรียน

กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมครูให้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา มาใช้พัฒนาคุณภาพทางการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาผู้เรียนให้มีพฤติกรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ กล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาครูและบุคลากร ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้
กลยุทธ์ที่ 7 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษาและสืบสานศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาไทย